ปลากะมง

ปลากะมง บางพื้นที่ที่เรียกปลามง หรือปลาโมง เป็นตระกูลปลาหางแข็ง เป็นปลาทะเลขนาดกลาง ค่อนไปทางใหญ่ ส่วนหัวทู่สั้น ลำตัวแบบนิดหน่อย มีสีขาว กับสีเงิน เกล็ดบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม แข็ง ขนาดใหญ่ คอดหางแคบ ว่ายน้ำเร็ว
การอยู่อาศัยมักจะพบเห็นได้ในทะเลที่มีความอบอุ่น (ยกเว้นชายฝั่งแอตแลนติก) อยู่รวมกันเป็นฝูง มักจะอยู่อาศัยหากินชายฝั่งของเกาะต่าง ๆ บริเวณโขดหิน แนวปะการัง พบเจอในทะเลลึกมากที่สุด 100 เมตร บางครั้งก็พบเจอบริเวณน้ำกร่อยได้เช่นกัน
ปลากะมงจะเจริญเต็มวัย และพร้อมสืบพันธุ์ เมื่อลำตัวยาวประมาณ 40 เซนติเมตรขึ้นไป เมื่อออกมาเป็นลูกปลา ลูกปลาก็จะพากันเข้าฝั่งยังบริเวณน้ำกร่อย บางทีก็อาศัยเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ในทะเล เพื่อเป็นแหล่งหาอาหารและเจริญเติบโตต่อไป
ราคาปลากะมงที่จำหน่ายในท้องตลาดก็ถือว่าไม่ได้สูงมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็น
ชาวประมงที่ลากอวนนำมาขาย แต่ที่นิยมมากที่สุดก็คงจะเป็นการตกเพื่อเป็นเกมกีฬา และนำมาประกอบอาหาร
การ
ตกปลากะมง ก็เหมือนกับการตกปลาชายฝั่งทั่วไป ที่มักจะอาศัยตามโขดหิน หรือแนวปะการัง แต่ช่วงเวลาที่เหมาะในการตกมากที่สุดก็ควรจะเป็นตอนกลางคืน เพราะพวกมันจะออกหาอาหารในช่วงมืด ๆ แต่ในตอนกลางวันนั้นใช่ว่าจะตกไม่ได้ หากหย่อนได้ถูกที่ก็มีสิทธิได้ตัวใหญ่ ๆ เช่นกัน
การใช้เหยื่อก็จะเป็นเหยื่อตาย พวกเนื้อ ปลาหมึก ปลาทู กุ้ง หอย เป็นต้น แต่ที่ได้ผลมากที่สุดก็คือปลาหมึก และปลาตาย โดยนำมาแล่เนื้อเป็นชิ้น ๆ แล้วเกี่ยวตกโดยการตกนั้นก็เป็นการตกปลาหน้าดินจะดีที่สุด (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้ตกปลากะมงได้แล้ว ยังใช้ได้กับปลาอีกหลายชนิด เช่น ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาตะมะ ปลาเสียด เป็นต้น)
ถึงแม้ปลากะมงจะนิยมในการตกเพื่อการกีฬา หรือความบันเทิง ส่วนเนื้อปลาอาจจะไม่ได้รับความนิยมในการไปทำอาหารเท่ากับปลาชนิดอื่น แต่บอกได้เลยว่ารสชาตินั้นนุ่มอร่อยไม่น้อย แถมยังสามารถทำได้หลากหลายเมนูดังนี้
ประเภททอด – ทอดน้ำปลา, ทอดกระเทียมพริกไทย, ทอดสมุนไพร, ทอดราดน้ำซีอิ๊ว
ประเภทผัด – ผัดฉ่า, ผัดพริกเผา, ผัดคืนฉ่าย, ผัดเผ็ดใบยี่หร่า, ปลากะมงกะเพากรอบ, ผัดพริกแกง
ประเภทแกง – แกงเหลือง, แกงส้ม, แกงกะทิ,
ประเภทต้ม – ข้าวต้ม, ก๋วยเตี๋ยว, ต้มยำน้ำข้น – น้ำใส
ประเภทนึ่ง – นึ่งมะนาว, นึ่งซีอิ๊ว, นึ่งบ๊วย
เมนูเหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น สามารถนำเอาปลากะมง ไปรับเป็นเมนูอาหารได้ตามใจชอบได้เลยเชื่อว่าต้องติดใจกันอย่างแน่นอน